เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [4. อัคคัญญสูตร] ความบริสุทธิ์แห่งวรรณะ 4

พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพระ-
พรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพระพรหม’
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ปรากฏชัดอยู่ว่า นางพราหมณีของพราหมณ์ทั้งหลาย
มีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกดื่มนมบ้าง ก็พราหมณ์เหล่านั้นเป็น
ผู้เกิดทางช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น ยังกล่าวอย่างนี้ว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐ
ที่สุด คือพราหมณ์เท่านั้น ฯลฯ เป็นทายาทของพระพรหม’ ก็พราหมณ์เหล่านั้น
กล่าวตู่พรหมและพูดเท็จ พวกเขาจะต้องประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก

ความบริสุทธิ์แห่งวรรณะ 4

[115] วาเสฏฐะและภารทวาชะ วรรณะ 4 เหล่านี้ คือ (1) กษัตริย์
(2) พราหมณ์ (3) แพศย์ (4) ศูทร
1. แม้กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ
เขาไม่ได้ให้ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตพยาบาท เห็นผิด
ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็น
อกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรประพฤติ นับว่าไม่ควรประพฤติ
ไม่สามารถเป็นอริยธรรม นับว่าไม่สามารถเป็นอริยธรรม เป็น
ธรรมดำ1 มีวิบากดำ2 ที่วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นปรากฏ
อย่างชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
2. แม้พราหมณ์ ...
3. แม้แพศย์ ...
4. แม้ศูทรบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้
ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตพยาบาท เห็นผิด ด้วยประการ

เชิงอรรถ :
1 ธรรมดำ ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ไม่บริสุทธิ์มาแต่เดิม (ที.ปา.ฏีกา 115/47)
2 มีวิบากดำ ในที่นี้หมายถึงมีผลเป็นทุกข์ (ที.ปา.อ. 115/48)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :85 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [4. อัคคัญญสูตร] ความบริสุทธิ์แห่งวรรณะ 4

ดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับ
ว่ามีโทษ ไม่ควรประพฤติ นับว่าไม่ควรประพฤติ ไม่สามารถเป็น
อริยธรรม นับว่าไม่สามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมดำ มีวิบากดำ
ที่วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่างชัดเจนในศูทรบาง
คนในโลกนี้
วาเสฏฐะและภารทวาชะ
1. แม้กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้น
ขาดจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูด
ส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ
ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เห็นชอบด้วย
ประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มี
โทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรประพฤติ นับว่าควรประพฤติ สามารถ
เป็นอริยธรรม นับว่าสามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว1 มี
วิบากขาว2 ที่วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่าง
ชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
2. แม้พราหมณ์ ...
3. แม้แพศย์ ...
4. แม้ศูทรบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เห็นชอบ ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ
นับว่าไม่มีโทษ ควรประพฤติ นับว่าควรประพฤติ สามารถเป็น
อริยธรรม นับว่าสามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบาก
ขาว ที่วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่างชัดเจนใน
ศูทรบางคนในโลกนี้

เชิงอรรถ :
1 ธรรมขาว ในที่นี้หมายถึงธรรมที่บริสุทธิ์เพราะปราศจากกิเลส (ที.ปา.อ. 115/47)
2 มีวิบากขาว ในที่นี้หมายถึงมีผลเป็นสุข (ที.ปา.อ. 115/48)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :86 }